เติมฝันให้เป็นจริงด้วยอไจล์คืออัลไล

เติมฝันให้เป็นจริงด้วยอไจล์คืออัลไล

หนึ่งในวิชาบังคับที่ผมต้องเรียนให้ผ่านก่อนจบปี 4 คือวิชาสัมมนาครับเป็นวิชาที่นศในชั้นปีที่ 4 จะต้องแบ่งกลุ่มกันแล้วไปเชิญวิทยากรมาจัดงานสัมมนาหรือพูดง่ายๆมาบรรยายนั่นเองครับโดยในสัปดาห์นี้เป็นความรับผิดชอบของกลุ่มผมกับเพื่อนอีก 10 ชีวิตได้ช่วยกันจัดงานขึ้นมาในเช้าวันนี้ซึ่งวิทยากรก็ไม่ใช่คนที่ไหนไกลก็คือคุณกุลวัฒน์วงศาโรจน์หรือพี่ปอมจากกลุ่ม Agile66 นั่นเองครับ

ระหว่างที่กลุ่มอื่นก็จัดงานสัมมนาไปในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมานับว่าผมโชคดีมากที่มีงานสัมมนาเกี่ยวกับ Software จัดขึ้นมาตลอดทุกเดือนไม่ว่าจะเป็นThailand Practical Software Engineering ConferenceและAgile Tour Bangkok 2013ซึ่งนอกจากจะไปหาความรู้มาประดับตัวจากงานแล้วทั้งสองงานยังมีจุดประสงค์แฝงคือการไปทาบทามวิทยากรซึ่งก็คือพี่ปอมทั้งสองงานซึ่งก็น่ายินดีที่พี่ปอมตอบตกลงตั้งแต่ครั้งแรกที่เจอกันเลยซึ่งหลังจากติดต่อกันหลังจากนั้นไม่กี่ครั้งก็ถึงวันงานซึ่งก็คือวันนี้

ระหว่างรอวิทยากรมาทางกลุ่มก็ได้เปิดวิดีโอไปสอบถามกลุ่มตัวอย่างว่า "อไจล์คืออัลไล" ซึ่งได้ไปถ่ายทำและทำการสอบถามมาในสัปดาห์ก่อนหน้านี้บอกตามตรงว่ารู้สึกดีมากที่ได้เห็นหลายๆคนยิ้มกับความดิบในคลิปโดยไม่ได้ตัดต่อแต่อย่างใดซึ่งอันที่จริงแล้วก็ถือว่าเป็นความผิดพลาดของผมเองเพราะในตอนแรกตั้งใจไว้ว่าจะตัดต่อให้ดูดีเหมือน VRZO แต่ด้วยข้อจำกัดทางเวลารวมถึงติดปัญหานิดหน่อยทำให้สุดท้ายแล้ววิดีโอก็ไม่ได้ตัดไม่ได้ใส่ซับเลยออกมาเป็นไฟล์ดิบๆอย่างที่เห็นในงาน

โดยส่วนตัวแล้วตั้งแต่เลิกผมเลิกทำกิจกรรมก็แทบจะไม่ได้พูดต่อหน้าคนมากๆอีกเลยวันนี้เป็นอีกหนึ่งวันที่พิสูจน์ว่า "ถึงจะซ้อมมาแค่ไหนก็สั่นได้" ถึงแม้คนที่มาร่วมจะเป็นเพื่อนร่วมภาคเดียวกันแต่ก็ยังมีน้องๆจากภาควิชาอื่นและก็ยังมีนศ. มาจากคณะอื่นด้วยไม่สั่นก็ไม่รู้จะพูดยังไงแล้วครับพอแนะนำวิทยากรเสร็จก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของพี่ปอมแล้วครับ

ข้อเสียของการเป็นคนจัดงานคือไม่มีโอกาสจดครับเพราะต้องตั้งใจฟังแล้วก็เป็นหน้าม้าบ้างในบางโอกาสแต่มีคำพูดบางประโยคที่ผมจำได้จากการบรรยายผมอาจจะถ่ายทอดคำพูดไม่ได้เป๊ะๆนะครับแต่ประมาณว่า "อไจล์มันเป็นแค่แนวคิดคือจะเอาไป Adapt กับอะไรก็ได้แทบทุกอย่าง" ซึ่งผมเห็นด้วยจริงๆมันเหมือน Zen คือเอามาประยุกต์ใช้ได้กับทุกเรื่องแต่ผมนับถือ Agile มากกว่าจริงๆแล้วอาจจะเป็นเพราะผมเป็นคนทำซอฟท์แวร์ด้วยเลยเข้าใจความรู้สึกในความหมายของคำๆนั้นก็อาจจะไม่ผิดนัก

อีกหนึ่งเรื่องเด่นๆที่ทุกคนเกือบทั้งห้องน่าจะสนใจคือตอนที่พี่ปอมพูดถึงทักษะที่จำเป็นที่สุดของโปรแกรมเมอร์ (ที่ไม่มีใครบอกคุณ) โดยทักษะที่ทุกคนสนใจที่สุดเห็นจะเป็น "การตั้งชื่อตัวแปรและเมธอด" เพราะไม่มีใครสอนในวิชาโปรแกรมมิ่ง (จริงๆแล้วอาจจะมีแต่พอเขียนจริงๆก็ลืมกัน) ซึ่งก็จะโยงมาหาอีกทักษะหนึ่งก็คือ "การทำงานเป็นทีม" ครับหลังจากนั้นพี่ปอมก็อธิบาย Agile Manifesto กับอไจล์คืออะไรซึ่งเป็นหนึ่งในเรื่องที่ผมอยากฟังคำอธิบายมากที่สุดในวันนี้แต่น่าเสียดายที่ผมต้องออกไปคุยกับอาจารย์แว็บนึงเลยพลาดจุดนี้ไป

พอกลับมาจากคุยกับอาจารย์พี่ปอมก็พาเล่น Ball Point Game โดยตอนแรกว่าจะเล่นข้างหน้าหอประชุมแต่เสียงดังมากเลยย้ายกลับมากระจายกันเล่นอยู่ทั่วพื้นสโลป โดยเกมส์นี้จะแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มละ 10 คนในที่นี้และเกมนี้มีกฏอยู่ 3 ข้อคือ

  • ต้องทำการส่งบอลผ่านทุกคนในทีมถึงจะนับเป็น 1 แต้ม ถ้าตกไม่นับ
  • บอลต้องมีการผ่านอากาศคือส่งต่อๆ มือต่อมือไม่ได้
  • ห้ามส่งให้คนที่นั่งติดกัน

โดยจะให้เวลา 2 นาทีแรกในการวางแผนแล้วก็ Estimate ว่าคิดว่ากลุ่มจะทำได้กี่แต้มหลังจากผ่าน 2 นาทีแล้วก็จะเล่นจริง 2 นาทีซึ่งจุดนี้เป็นอะไรที่สนุกมาก (แต่เป็นคนจัดงานก็ไม่ได้เล่นด้วย T^T) ที่เห็นเพื่อนตอนแรกๆงงๆเริ่มที่จะคุยกันเล่นแล้วยิ้มกันหัวเราะกันออกมาเห็นการ Estimation ผิดเห็นแนวคิดการ Retro แบบต่างๆกันแต่ละกลุ่มพัฒนาการและเทคนิคที่ซับซ้อนของแต่ละกลุ่มผมไม่รู้ว่าเพื่อนที่เล่นอยู่สนุกมั้ยแต่ผมรู้สึกดีมากที่ได้เห็นกิจกรรมแบบนี้รู้สึกดีจริงๆบรรยายไม่ถูกเลย

พอจบเกมพี่ปอมบอกว่าสิ่งที่สังเกตุเห็นที่นี่จริงๆคือ Natural Velocity หมายถึงทีมพอทำงานเต็มที่แล้วเนี่ยนั่งทำอยู่ที่เดิมแต่เปลี่ยนวิธีไปเรื่อยๆพอถึงจัดๆหนึ่งก็จะเป็นจุดที่ทีมทำได้เร็วสุดล่ะ (และจุดนั้นจะ Estimate ได้ใกล้เคียงมากๆด้วย) ซึ่งจากประสบการณ์การทำ Agile มาทีมผมทำได้น้อยถึงน้อยมากเลยในจุดนี้ต้องกลับไปทบทวนจริงๆว่าทีม Inspect & Adapt มากแค่ไหน (ถึงแม้เราจะทำ Retrospective ด้วยแล้วก็ตาม)

หลังจากนั้นแล้วพี่ปอมก็ได้พูดถึงศัพท์ต่างๆที่พอเราศึกษา Agile น่าจะผ่านหูผ่านตามาบ้างอย่างเช่น Continuous Improvement, Value Driven, Early Feedback (อันนี้ผมชอบมากกับการเปรียบที่ว่าการเขียนโปรแกรมก็เหมือนการดีดกีตาร์ถ้าเราดีดไปแล้วต้องรอ 3 ชม. กว่าเสียงมันจะดังกลับมาคิดว่าเราต้องใช้เวลาเท่าไรในการเรียนดีดกีตาร์), Transparency ที่พูดถึงเรื่อง Trust และพูดถึงเรื่อง Code อีก 2 เรื่องคือ "Good code is its own best documentation." และประโยคเด็ดของลุงบ็อบผู้แต่ง Clean Code ที่แปลไทยได้ว่า "ถ้าเขียน Comment เมื่อไรรู้ไว้ซะว่า Code แกมันกาก" หลังจากนั้นก็ทวน Agile Manifesto อีกรอบแล้วแนะนำผู้ที่จะศึกษาเกี่ยวกับอไจล์ว่าควรจะทำไง (ง่ายก็คืออ่าน) โดยหนังสือที่แนะนำคือ Agile Samurai ซึ่งก็คือเล่มเดียวกับที่ผมชอบแนะนำน้องเวลามาถามเกี่ยวกับ Agile ว่าคืออะไรเพราะมันอ่านง่ายจริงๆโดยเฉพาะฉบับแปลเถื่อนจากเกรียนเพรสที่อุตส่าห์ไปขุดมาจนเจอ

สุดท้ายนะครับต้องขอบคุณวิทยากรคุณกุลวัฒน์และทีมงานมากๆ นะครับที่สละเวลามาให้ความรู้แก่พวกเรา ขอบคุณเพื่อนๆ ปี 4 ทุกคนนะครับที่มาเข้าสัมมนาในวันนี้, ช่วยกันตอบแบบสอบถามและร่วมกันทำกิจกรรมกันขอบคุณวิทย์ ที่จัดการหาของที่ระลึกให้ รวมถึงเรื่องดูแลวิทยากรด้วยขอบคุณพัด ที่อุตส่าห์หากล้อง ตั้งกล้อง รวมถึงเดินถ่ายรูปทั้งงานขอบคุณฟอร์ซที่คุยกับฝ่ายสถานที่ให้ ตอนที่เราไม่ว่างขอบคุณบอลที่ช่วยติดต่อกับอาจารย์ตี๋ให้ตั้งแต่วันแรกยันวันงานของคุณชาลี ที่ช่วยกันออกแบบโลโก้ให้ออกมาได้สวยขนาดนี้ขอบคุณเฮน โอม บูมที่อุตส่าห์มาแต่เช้ากว่าปกติ แล้วก็ดูแลโต๊ะลงทะเบียนให้ขอบคุณซ้ง ที่ช่วยเดินดูแลกลุ่มที่อยู่ข้างบน แล้วก็ช่วยกันแบกลำโพงไปไว้ข้างนอกด้วย ขอบคุณบิว ที่ช่วยกำกับตอนถ่ายคลิป และช่วยออกไอเดียแปลกๆ
ขอบคุณเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่ช่วยกันแชร์ประชาสัมพันธ์งานไปในสาขาต่างๆ นะครับ
ขอบคุณเพื่อนๆ พี่ๆ ในทวิตเตอร์ที่ช่วยกันรีทวีตประชาสัมพันธ์ เป็นทวีตที่โดนรีมากที่สุดตั้งแต่เล่นมาเลยสุดท้ายขอบคุณกิจกรรมนี้นะครับ ที่ทำให้ฝันของผมในการเผยแพร่อไจล์ไปสู่คนหมู่มากในลาดกระบังเป็นจริง

ขอบคุณทุกคนอีกครั้งครับขอบคุณจริงๆ


Original post at: https://yothinix.blogspot.com/2014/01/blog-post_7.html