แชร์ประสบการณ์ปรับมาใช้ Ergodox EZ และ Dvorak layout ในหนึ่งเดือน EP 1: Ergodox EZ

แชร์ประสบการณ์ปรับมาใช้ Ergodox EZ และ Dvorak layout ในหนึ่งเดือน EP 1: Ergodox EZ

ช่วงที่ผ่านมาหลายๆ คนน่าจะ WFH มากขึ้นใช่มั้ยครับ และผมเชื่อว่าหลายๆ คนน่าจะรู้สึกเหมือนผมว่า พอเรา WFH เราเริ่มจะอยู่กับคอมนานมากขึ้นไปอีกถ้าเราเป็น Programmer เพราะเราไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง หรือออกไปซื้อข้าวเหมือนแต่ก่อน แล้วพอเราใช้เวลาอยู่หน้าคอมมากขึ้น เราก็จะเริ่มรู้สึกปวดเมื่อยล้าขึ้นตามมาในจุดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นที่คลาสสิกอย่าง คอ บ่า ไหล่ หรือจะเป็นข้อมือ หรือนิ้ว

ส่วนตัวผมก็ประสบกับปัญหาพวกนี้ไม่ต่างกันครับ และหนึ่งในวิธีที่ผมใช้มาแก้ปัญหานี้คือ การเปลี่ยนมาใช้ Ergonomic keyboard อย่าง Ergodox EZ ครับ แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้น ผมอยากจะแนะนำให้ทุกคนรู้จักกับ Split keyboard และ Ortholinear layout ก่อนครับ

อะไรคือ Split keyboard

Split keyboard เป็นคีย์บอร์ดอีกประเภทนึงที่จัดอยู่ในแนว Ergonomic keyboard โดยจุดเด่นหลักๆ อยู่ที่ตัวแป้นคีย์บอร์ดจะโดนหั่นครึ่ง ออกมาแยกออกจากกัน ซึ่งมีทั้งแบบ split ที่แยกออกจากกันไปเลยเป็น 2 ชิ้นแล้วเชื่อมกันผ่านสายเช่น Ergodox, Matias Ergo Pro, Kinesis Freestyle ฯลฯ หรือแบบ unibody ที่ยังอยู่ในเคสเดียวกันแต่ถูกจัดวางให้เอียงออกมารับสรีระมากกว่าปกติเช่น Microsoft Sculpt Ergonomic, Kinesis Advantage 2

818T--WBwvL._AC_SX679_.jpg

ส่วนประเภท split ที่แยกออกจากกันเป็น 2 ชิ้นเราสามารถจะจัดตัวคีย์บอร์ดให้วางรองรับมือและแขนให้รองรับ natural posture ให้มากที่สุด ใครหน้าอกกว้าง หรือมุมแขนเป็นยังไง สามารถจัดได้อย่างอิสระเลยครับ โดยคำแนะนำของเค้าคือ ให้เรายื่นแขนออกไปตรงๆ แล้วลองวางมือดูก็จะได้จุดที่สบายที่สุดครับ

Screen Shot 2564-07-11 at 17.08.27.png

แล้ว Ortholinear หละคืออัลไล

ถ้าเราลองก้มลงไปดูคีย์บอร์ดปกติที่เราใช้อยู่ในทุกๆ วัน เราจะเห็นว่าตัวแป้นมันจะมีความเอียงๆ ไปทางซ้ายหน่อยๆ แล้วถ้าเราลองวางมือในแป้นเหย้า​ (home row) เราจะเห็นว่ามือเรามันเอียงไปทางซ้ายจริงๆ และบางปุ่มจะต้องเอื้อมนิ้วหนักมากเช่นเลข 6 ที่ควรจะถูกกดด้วยนิ้วชี้ข้างขวาจะเอื้อมไกลมากๆ ถ้าเทียบกับเลข 5 ที่ยื่นขึ้นไปนิดเดียว

Screen Shot 2564-07-11 at 17.16.39.png

Ortholinear เกิดมาเพื่อแก้ปัญหานี้ครับ โดยทุกๆ ปุ่มจะถูกวางเรียงเท่าๆ กันในทุกๆ ปุ่ม ทำให้ระยะห่างของปุ่มต่างๆ มันเท่ากันทั้งคีย์บอร์ดครับไม่ว่าจะพิมพ์จากมือซ้าย หรือมือขวา ทำให้ระยะที่เราเอื้อมนิ้วโดยเฉลี่ยมันน้อยลงด้วยถ้าเทียบกับ layout ปกติครับ โดย Ortholinear ที่ดังที่สุดหนีไม่พ้น Planck keyboard ครับที่เป็นคีย์บอร์ด 47 ปุ่มเรียงกันเป็นตาราง Ortholinear ซึ่งถึงแม้ว่าจะมีปุ่มแค่นี้ แต่การใช้งานคีย์บอร์ดประเภทนี้เราจะเริ่มใช้ปุ่มต่างๆ ที่ขาดไปจากคีย์บอร์ดปกติผ่านระบบ layer ครับ ซึ่งเป็นเรื่องปกติของคนที่ใช้ custom keyboard เลย

รู้จักกับ Ergodox EZ

ต้องบอกว่าครั้งแรกที่ผมมองหา Split Keyboard ผมไม่ได้มองมาที่ Ergodox EZ ครับ แต่มองไปที่ Sol 3 จาก RGBKB ครับ ซึ่งจุดเด่นของมันคือ ความ custom ได้นี่แหละทุกชิ้นส่วนตั้งแต่ case เรื่อยมาจน touch bar module เราสามารถเลือกได้หมดเลย แต่ระหว่างที่ผมกำลังหาข้อมูล ผมตระหนักอย่างนึงว่า ไหนๆ ต้อง custom ขนาดนี้น่าจะต้อง flash firmware custom ตัว layout บ่อยมากแน่ๆ แล้วผมมีประสบการณ์ไม่ค่อยดีกับ QMK เท่าไร เลยหันมามอง Ergodox EZ แทนครับ

LR_DSC4349_058e575d-f12f-4de3-9c94-e4f15accc799_4000x.jpeg

Ergodox EZ พัฒนาต่อยอดมาจาก Ergodox อีกที ซึ่งทุกอย่างเป็น open source เราสามารถใช้ 3D printer, print PCB ฯลฯ สร้างขึ้นมาเองได้ครับ แต่ Ergodox EZ ช่วยทำให้ชีวิตเราง่ายกว่านั้นครับ โดยเราสามารถเลือกแต่ละ component ขึ้นมาได้ผ่าน website เลยเพื่อ pre-build Ergodox EZ ให้ตรงกับที่เราต้องการมากที่สุดครับ

Screen Shot 2564-07-11 at 17.22.46.png
129169.jpg

โดยที่เซตที่ผมเลือก เป็นสีขาว มี Tilt Kit, Wing Rest ไม่มีไฟลอดใต้ปุ่ม (shine) และไม่มีไฟใต้คีย์บอร์ด (Glow) ครับ ในส่วนของคีย์แคปผมเลือกเป็น Blank sculpted keycaps เพราะว่ากะจะเปลี่ยน Layout อยู่แล้วเลยไม่คิดว่า printed QWERTY keycap จำเป็น และเลือก Switch เป็น Cherry MX Silent Red เพราะว่าช่วงหลังๆ ต้อง WFH แบบเปิดลำโพงฟัง discord บ่อยๆ เลยอยากได้ switch เงียบๆ เอาไว้ทำงานซึ่ง option ที่ผมเลือกก็ลดราคาของ Ergodox EZ ไปได้ระดับนึง แต่ก็ยังราคาพอๆ กับ Custom Tofu60 กับ Switch ดีๆ เลย

Oryx Configurator & Wally EZ Flash Tool

ก่อนหน้านี้ผมบอกว่า ผมมีประสบการณ์ไม่ดีกับ QMK เพราะผมรู้สึกว่าหน้าเว็บในการใช้งานมันจะงงๆ หน่อย จนผม Flash firmware keyboard พังคามือมาแล้ว ด้วย pain ตรงนี้เลยเป็นเหตุผลหลักที่ผมเลือก Ergodox EZ เพราะชุด Software ของมันเลย

Screen Shot 2564-07-11 at 17.24.55.png

ในส่วนของ Software จะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ Oryx Configurator ซึ่งเป็นหน้าเว็บที่เราจะเข้ามาทำการ config ปุ่มต่างๆ ใน Ergodox ให้มันทำงานได้ในแบบที่เราต้องการ ซึ่งรองรับการ config ได้มากที่สุดถึง 32 layer เลยทีเดียว แต่ฟีเจอร์ที่ผมใช้บ่อยๆ นอกจากตั้งปุ่มตาม Layout พิเศษของตัวเองคือ dual function key ที่กดแช่จะเป็นคีย์นึง แต่ถ้า tap จะเป็นอีกคีย์ หรือพวก combo/macro modifier ที่ช่วยให้เรา custom ปุ่มๆ นึงให้ทำงานในแบบที่เราต้องการได้เลย ซึ่งเรื่องนี้เดี๋ยวผมมาลงรายละเอียดอีกทีในตอนต่อๆ ไป ครับว่าผมทำอะไรกับมันไปบ้าง แต่บอกได้เลยว่า นี่คือ hightlight ของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เลย

Screen Shot 2564-07-11 at 17.27.21.png

อีกส่วนของ Software คือ Wally ครับ ซึ่งเป็น Firmware Flashing tool ซึ่งมันใช้ง่ายมากๆ คือ พอเราได้ layout ที่ compile มาจาก Oryx แล้วจะได้ไฟล์ hex มาไฟล์นึง ที่เหลือเราก็แค่ลากไฟล์นั้นใส่ Wally แล้วเอาคลิปหนีบกระดาษจิ้มปุ่ม reset ทีนึง Wally ก็จะ Flash firmware ให้ใหม่จนจบก็ใช้งานได้เลย ไม่ต้องถอด usb ของคีย์บอร์ดเสียบใหม่ด้วย ง่ายมั้ยหละครับ

Tilt-Kit & Wing Rest

ส่วนตัวผมเป็นคนใช้คีย์บอร์ดแบบไม่เคยมีที่รองมือมาตลอด ซึ่งมันก็จะมีความเกร็งๆ ข้อมือให้งอขึ้นอีก แทนที่จะอยู่ใน Position ที่งอลงปกติ พอมี Wing Rest ของ Ergodox นอกจากจะรู้สึกว่าม้ือวางงอลงแล้วมันเกร็งข้อน้อยลงแล้ว อีกส่ิงหนึ่งที่ผมรู้สึกได้ชัดคือ ข้อมือมันล็อกมากขึ้นครับ คือในหลายๆ ครั้งแต่ก่อน ผมซึ่งพิมพ์ภาษาอังกฤษบนคีย์บอร์ดแบบไม่ถูกหลักมือมันจะลอยไปลอยมาไม่ค่อยอยู่กับฐาน จะอาศัย home row เป็นตัวกะระยะก่อนที่จะเอื้อมไปกด แต่พอมีที่รองข้อมือ รู้สึกว่ามือเรามันกลับฐานมาในแบบที่ควรจะเป็นบ่อย แล้วก็ไม่ค่อยเมื่อยแขนละ เพราะมือไม่ค่อยลอยรอกดปุ่มละ

129181.jpg

ส่วน Tilt-Kit นี่ถ้าเราสังเกตุดีๆ คีย์บอร์ดปกติ เราจะบิดข้อมือเล็กน้อย (นอกจากเอียงซ้ายแบบ layout ปกติ) เพื่อให้ม้ือเราวางแบนราบเหนือแป้นพอดี ซึ่งพอเราทำงานไปนานๆ นี่เป็นสาเหตุว่าทำไมแถวๆ ข้อแขนมันเมื่อยด้วยนอกจากข้อมือเราที่บิดอยู่แล้ว ตัว Tilt-Kit เลยออกมาแก้ปัญหานี้ครับ โดยอาศัยข้อได้เปรียบที่คีย์บอร์ดเราแยกร่างแล้ว แล้วทำไมเราจะทำให้มัน support มือเรามากกว่าเดิมหละ โดย Position ที่คนนิยมกันคือ ดัน Tilt-Kit ข้างในยกให้สูงที่สุดครับ มันทำให้คีย์บอร์ดยกมารับกับมือมากขึ้น ใกล้เคียงกับ Natural Position คล้ายๆ เวลาเราถือดาบหรือกำด้ามปืนครับ

129178.jpg

ในส่วนนี้ตอนแรกๆ ผมก็รู้สึกว่ามันสบายมากขึ้นแล้วนะแค่ Tilt-Kit อย่างเดียว แต่พอไปดูหลายๆ ที่เค้าจะเอาอะไรมาวางเสริมขึ้นไปอีกเพื่อให้องศาที่คีย์บอร์ดยกมารองรับมือเราสูงขึ้น โดยตอนนี้ผมจบที่เอาสมุด Moleskine เล่มเก่าๆ มาวางซ้อนๆ กันแล้ววางขา Tilt-Kit ข้างในบนนั้นมุมอยู่ที่ประมาณ 20 องศา ก็สบายแล้วครับ แต่ผมเห็นบางคนเอียงไปไกลกว่านั้น ก็แล้วแต่พื้นที่แต่ละคนเลย

พูดถึงข้อดีมาเยอะ พูดถึงข้อเสียบ้างละกัน

อย่างแรกคือ ตัว Interface ของสายยังเป็น Mini USB อยู่ครับ ซึ่งคีย์บอร์ดสมัยนี้แทบจะไม่ใช้กันแล้ว ทำให้การจะหา custom cable มันก็จะคิดหนักหน่อย ซึ่งจนถึงปัจจุบันที่ผมใช้มาหนึ่งเดือนก็ยังใช้สายเดิมๆ ที่แถมมากับคีย์บอร์ดอยู่ (ซึ่งยาวมาก)

Screen Shot 2564-07-11 at 17.32.59.png

ข้อเสียต่อมายังคงเป็นเรื่องสายครับ เพราะว่า Interface เชื่อมระหว่างคีย์บอร์ดเป็นหัว TRRS 4 Core ซึ่ง ถ้าพูดง่ายๆ มันคือสาย AUX หูฟังครับ แต่ด้วยความที่มันเป็น 4 core 2 ข้างเลย มันหายาก (แต่ไม่ใช่ว่าหาไม่ได้นะ) เพราะส่วนใหญ่ที่เจอจะเป็น ปลายข้างนึง 4 core อีกข้าง 3 core ซึ่งผมเข้าใจว่ามันไม่ compatible กันครับ นี่ยังไม่นับว่าสายมันยาวมากด้วยนะ ทำให้เกะกะโต๊ะมากครับ

ต่อมาเป็นเรื่องขนาดคีย์บอร์ดครับ ถึงแม้จะเป็น Ortholinear แล้ว Tilt แล้ว แต่ผมยอมรับว่าหลายๆ ปุ่มผมก็ยังกดไม่ถึงครับยกตัวอย่างเช่นปุ่มเล็กๆ แถวๆ Thumb cluster ผมเอื้อมสุดมือก็ยังไม่ถึง ต้องยกมือขึ้นมากดถึงจะได้ หรืออย่างพวกปุ่มใต้อุ้งมือในแถวล่างสุด 3 ตัวซ้าย/ขวาสุด ช่วงแรกๆ ผมพยายามใช้แต่มันฝืนธรรมชาติจริงๆ สุดท้ายผมก็เลิกใช้มันไปครับ

rRGyFgE.jpeg

ข้อเสียสุดท้ายที่ผมนึกออกตอนนี้คือ Keycaps ครับ ถ้าเป็นสาย custom สะสม keycaps การเปลี่ยนมาใช้ Ergodox จะทำให้ชีวิตเรายากขึ้นไปอีก การหา keycaps ที่รองรับ Ergodox จะยากขึ้นไปอีกเท่าตัว เพราะปัญหาหลักๆ คือปุ่ม 2u ที่อยู่ข้างๆ กับพวก Thumb cluster ครับ เรียกได้ว่าถ้า GB ออกมาแล้วบอกว่ามีรองรับ Ergodox นี่ต้องรีบคิดให้ไวเลย และนี่เป็นเหตุผลหลักที่ผมเลือก Ergodox แทน Moonlander เลยเพราะว่าถึงแม้จะยาก แต่ยังมีแต่ Moonlander นี่ไม่มีเลย แต่ถ้ามองอีกมุมคือ เราก็ประหยัดตังค์ค่า keycaps ไปได้เยอะมาก เพราะมันไม่ค่อยมีให้เลือกนี่แหละ

———————

สำหรับตอนแรกก็น่าจะพอแค่นี้ก่อนครับ ในตอนถัดไปเดี๋ยวผมจะมาพูดถึง Dvorak Keyboard Layout ที่ผมเลือกมาใช้คู่กับ Ergodox ตัวนี้ ก็คอยติดตามต่อกันได้ครับ ถ้าใครชอบบทความสามารถกด subscribe ได้ในช่องข้างล่างเลยครับ หรือจะกดไลค์เพจ เขียนงูให้วัวกลัว ก็ได้ แล้วเจอกันใหม่ตอนหน้าครับ