กินเนื้อย่างก็อไจล์
เมื่อเย็นนี้ผมกับน้องๆในชมรมมีโอกาสไปกินเนื้อย่างมาครับจริงๆแล้วจุดประสงค์ของการไปกินเนื้อย่างครั้งนี้ไม่มีอะไรเลยนอกจากความอยากอยากและอยากที่สั่งสมมานานหลายสัปดาห์ระหว่างที่กินๆอยู่มีน้องคนหนึ่งพูดขึ้นมาว่า "กินเนื้อย่างนี่มันอไจล์มั้ยพี่" ซึ่งหลังจากคุยกันในวงเนื้อผมสรุปคร่าวๆได้ว่าการกินเนื้อย่างกับน้องๆหรือเพื่อนมันไม่ต่างอะไรกับการทำโปรเจ็คซอฟท์แวร์เลยครับ
เรามามองที่ฝั่งเนื้อย่างก่อน ตอนที่เราเข้ามาในร้านทุกคนจะเลือกตำแหน่งที่จะนั่ง ที่ตัวเองจะกินได้สบายที่สุด บางคนเลือกที่จะนั่งตรงข้ามคนที่กินเก่งที่สุดเพราะ ถ้าอิ่มเมื่อไรมันจะได้กินแทนเรา ในกรณีนีนี้ผมไปกันห้าคน แบ่งกันเป็น 2 เตา ซึ่งน่าจะเดาไม่ยากว่าเตาหนึ่งก็จะมี 2 คนรับผิดชอบเป็นหลัก และมีน้องคนหนึ่งเป็นตัวเสริมอยู่ระหว่าง 2 เตานี้ พอเลือกที่นั่งได้แล้วพนักงานก็จะมารับออเดอร์ซึ่งการกินแบบบุฟเฟ่เราก็สั่งในสิ่งที่เราอยากกิน มากน้อยแล้วแต่ศรัทธา พนักงานก็รับออเดอร์ไป แล้วหลังจากนั้นเราก็รอ ระหว่างนี้เราจะตัดกลับมาที่โปรเจ็คซอฟท์แวร์กันก่อน
ในโปรเจ็คซอฟท์แวร์ทีมๆ หนึ่งจะประกอบไปด้วยคนที่เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาที่แตกต่างกัน จริงอยู่ที่ Agile มักจะบอกไว้ว่า Role ในทีมมันเป็นแค่สิ่งสมมติ แต่ถ้าเรามองในความสามารถจริงๆ ก็จะมีคนที่เชี่ยวชาญแต่ละสาขาอยู่นอกจากนั้นยังมีเรื่องของ Senior กับ Junior อีกซึ่งก็คล้ายๆ กับการที่เราเลือกนั่งตรงข้ามกับคนที่กินเก่งกว่าในเตาเดียวกัน เมื่อเราฟอร์มทีมขึ้นมาได้แล้วสิ่งต่อไปคือรับงานจากลูกค้า ในกรณีนี้มันจะกลับกันเลยขอข้ามกลับไปที่ฝั่งกินเนื้อย่างกันต่อ
พอเนื้อที่สั่งมาถึง ซึ่งมันก็มักจะมากันในปริมาณมากๆ พร้อมๆ กันหลายอย่าง ตามที่แต่ละคนสั่งไป ซึ่ง ก็ขึ้นอยู่กับสไตล์ในการกินของแต่ละคนว่าชอบกินอะไรก่อน กินอะไรหลัง หรือบางคน กินอย่างละนิดอย่างละหน่อย ให้รสชาติเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาในปาก ก็แล้วแต่สไตล์ ทุกคนจะรับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองสั่งมาในกรณีที่อิ่มแล้ว และเลือกที่จะช่วยกันกินในสิ่งที่คนอื่นกินไม่ไหวแล้ว ถ้ายังไหวอยู่นะ (ซึ่งก็อุดมคติมาก เพราะถ้าอิ่มจริงๆ ก็มักจะเกี่ยงกันหรือในกรณีที่เห็นวันนี้ย่างให้แล้วส่งให้ถึงจานเลย)
เวลาเราเก็บ Requirement จากลูกค้ามา ซึ่งก็สารภาพตามตรงว่าผมก็ไม่เคยเก็บจากลูกค้าจริงๆ เพราะทำแค่โปรเจ็คของปีสี่ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นและคล้ายกันคือสไตล์การทำงานมันไม่ต่างอะไรกับสไตล์การกินเลย เราเลือกในสิ่งที่เราชอบทำก่อน (หรือในบางกรณี ทำในสิ่งที่ง่ายกว่าก่อน) ในกรณีเวลาเราทำ Scrum เราต้องทำ Sprint Planning ซึ่งมักจะเลือก Requirement ที่สำคัญที่สุดมาทำก่อนคนเลือกคือใคร คือลูกค้า แต่ในกรณีนี้ลูกค้าคือตัวเองถามว่าจะเลือกอะไร แว็บนี้แหละที่แนวคิดแบบ Scrum มันโผล่เข้ามาและเห้ย มันจริง เราทำมันอยู่ทุกวันแหะ เราเลือกสิ่งที่เราอยากกิน (หรืออยากทำ) มาทีละนิดใส่ลงไปในเตาแต่ละรอบ ไม่ต่างจากการเลือกงานมาทำในแต่ละ Sprint เลย ซึ่งในเตาแรกเนี่ย จะคล้ายๆ เป็นการประเมินว่าในเตาหนึ่งมันวางเนื้อได้สูงสุดกี่ชิ้น รอบต่อไปเราจะกะได้โดยประมาณว่าจะวางได้เท่าไร ไม่ว่าเนื้อนั้นจะมาแบบลูกเต๋า เป็นแผ่น หรือเป็นเนื้อคนละชนิดก็ตาม
สิ่งที่ผมสังเกตุเห็นอีกอย่างคือในแต่ละรอบของเตารอบที่ 2-3 เป็นรอบที่เรากินได้มีความสุขที่สุดและมี Momentum มากที่สุด (รวมถึงเนื้ออร่อยสุดด้วย) ไม่ต่างอะไรกับการทำ Scrum ที่ Sprint แรกมักจะยังงงๆอยู่แต่พอ Sprint 2-3 จะเริ่มจับจังหวะและเริ่มคล่องตัวได้แต่ปัญหาของเนื้อย่างก็ไม่ต่างจากการเขียนโปรแกรมอีกพอเราทำไปจนถึง Sprint ที่ 4 หรือรอบเตาที่ 4 เนื้อในกระเพาะก็เริ่มเยอะขึ้นไม่ต่างจากการที่เรามี Code base มากขึ้นเมื่อเราทำโปรเจ็คไปซักระยะซึ่งจะทำให้การเพิ่มอะไรเข้ามาใน Sprint หลังๆมันยากลำบากยิ่งขึ้น (ในกรณีกินเนื้อย่างคืออิ่ม)
สุดท้ายที่ผมเห็นคือการเล่นแบบเป็นทีมเวลากินเนื้อย่างถ้าต่างคนต่างกินสุดท้ายแล้วก็จะจุกตายกันไปหมดแล้วจากมีความสุขจะกลายเป็นความทุกข์กลับมาไม่ต่างจากการทำซอฟท์แวร์ที่ถ้าต่างคนต่างทำสุดท้ายงานก็เละและเราก็จะไม่มีความสุขกับการที่เราทำมันเลยซึ่งถ้าเรากินกันเป็นทีมแน่นอนว่าเราจะคอยระวังหลังให้เพื่อนร่วมทีมเราจะไม่โยนขึ้ (หรือกรณีนี้คือเนื้อ) เมื่อเราอิ่มแล้วให้กับเพื่อนร่วมทีมเราจะค่อยๆกินไปด้วยกันจนกระทั่งถึงจุดที่เราพอเราก็จะออกจากร้านไปอย่างมีความสุขไปด้วยกันแต่สำหรับวันนี้ผมจุกมากครับ
ปล.ที่เขียนมาทั้งหมดในข้างต้นมาจากอารมณ์ล้วนๆอิ่มมากครับ
Original post at: https://yothinix.blogspot.com/2014/01/blog-post_17.html